บทนำการตรวจสอบอาคาร

เชิญพบกับ weerpro รูปแบบใหม่ที่บ้านใหม่ เนื่องจาก blogger มีข้อจำกัดในการ post ทำได้ค่อนข้างลำบาก จึงขอย้ายบ้านใหม่เป็น www.weerpro.page.tl พบกันที่บ้านใหม่ครับ

ในปัจจุบัน มีอาคารประเภทควบคุมการใช้งาน 9 ประเภท และสิ่งปลูกสร้างทั่วประเทศกว่า 20,000 แห่ง ที่เข้าข่ายต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารโดยผู้ตรวจสอบอาคาร ให้แล้วเสร็จ โดยจะต้องจัดส่งรายงานการตรวจสอบสภาพอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เพื่อขอใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (ร.๑) สำหรับการตรวจสอบอาคารครั้งแรกจะต้อง เป็นการตรวจสอบใหญ่

อาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ

A. อาคารที่ต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550


  • อาคารสูง คือ อาคารที่มีความสูงตั่งแต่ 23 เมตร

  • โรงงาน ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร และเป็นโรงงานตั้งแต่ 1 ชั้นขึ้นไป

  • อาคารขนาดใหญ่พิเศษ คืออาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป

  • โรงแรม มีห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป

  • อาคารชุมนุมคน ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. หรือจุคนตั่งแต่ 500 คนขึ้นไป
  • สถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้แต่ 23 เมตร ขึ้นไป
  • โรงมหรสพ
  • ป้ายที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตร หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร กรณีติดตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้าที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

B. อาคารที่ต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 24 ตุลาคม 2553

  • อาคารชุด ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
  • อาคารพักอาศัย ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ขึ้นไป

C. อาคารที่ต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 24 ตุลาคม 2555

  • อาคารชุด ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
  • อาคารพักอาศัย ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป

D. สำหรับอาคารที่ก่อสร้างใหม่ที่เข้าข่ายตาม A , B , C ให้จัดให้มีผู้ตรวจสอบหลังจากเปิดใช้อาคารแล้ว 1 ปี

รูปตรวจสอบอาคาร

รูปตรวจสอบ Heat Detector ด้วยเครื่อง Heater


รูปตรวจสอบความสว่าง ป้ายทางออกฉุกเฉิน ด้วย Luxmeter


รูปตรวจสอบอุณหภูมิ จุดต่อสาย Breaker ด้วย Temperature Infrared

รูปตรวจสอบความดังเสียง Fire Alarm ด้วย Sound Meter

รูปตรวจสอบ Smoke Detector ด้วย Smoke Spray


Project Reference

ตรวจสอบอาคารโรงงาน บริษัท ฮิตาชิ โตชิกิ อิเล็กโทรนิก จำกัด ระยอง


ตรวจสอบอาคารสำนักงาน บริษัท อริยะ อีควิปเม้นท์ จำกัด บางนา-ตราด

แจกฟรี "Safety Sign" File

สำหรับผู้ดูแลอาคารทุกท่านมี "Safety Sign" File Click Here

Use stairs in the event of a fire sign
ป้ายโปรดใช้บันไดขณะเกิดเพลิงไหม้

Use ladder in the event of a fire
ป้ายโปรดใช้บันไดลิงขณะเกิดเพลิงไหม้

Trip hazard sign
ป้ายระวังสะดุด
Stairs up sign
ป้ายขึ้นบันได

Stairs down sign
ป้ายลงบันได

Risk of explosion sign
ป้ายเตือนเสี่ยงการระเบิด


Fire telephone sign
ป้ายโทรศัพท์ฉุกเฉิน

Fire hydrant sign
ป้ายหัวรับน้ำดับเพลิง

Fire hose reel sign
ป้ายสายดับเพลิง

Fire extinguisher sign
ป้ายถังดับเพลิง

Fire exit sign
ป้ายทางหนีไฟ

Fire alarm sign
ป้ายอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ








Emergency exit sign
ป้ายทางออกฉุกเฉิน

Danger highly flammable sign
ป้ายอันตรายวัสถุติดไฟง่าย

Danger high voltage sign
ป้ายอันตรายไฟฟ้าแรงสูง

Caution fork-lift sign
ป้ายระวังรถโฟร์ตลิฟท์

อุปกรณ์ตรวจจับควัน

ขณะได้ทำการหยุดปรับปรุง Website และได้ย้ายไปที่ http://www.weerpro.page.tl/Smoke-Detector.htm แทนครับ

อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) เป็นอุปกร์ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอนุภาคของควันโดยอัตโนมัติ โดยมากการเกิด เพลิงไหม้จะเกิดควันไฟก่อน จึงทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันสามารถตรวจการเกิดเพลิงไหม้ได้ในการเกิดเพลิงไหม้ระยะแรก แต่ก็มีข้อยกเว้นในการเกิดเพลิงไหม้บางกรณีจะเกิดควันไฟน้อยจึงไม่ควรนำอุปกรณ์ตรวจจับควันไปใช้งาน เช่น การเกิดเพลิงไหม้จากสารเคมีบางชนิด หรือน้ำมัน

หลักการทำงาน โดยทั่วไปอุปกรณ์ตรวจจับควันจะทำงานโดยอาศัย หลัการคือเมื่อมีอนุภาคควัน ลอยเข้าไปในอุปกรณ์ตรวจจับควัน อนุภาพควันจะเข้าไปกีดขวางวงจรไฟฟ้า หรือกีดขวางระบบแสงในวงจร หรือใช้อนุภาคควันในการหักเหแสงไปที่ตัวรับแสง

ชนิดของอุปกรณ์ตรวจจับควัน แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือแบบ ชนิดไอโอไนเซชั่น (Ioniztion) , ชนิดโฟโตอิเล็กตริก ( Photoelextric )


1 .) อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิด ไอไนเซชั่น (Smoke Detector Ioniztion Type) ภายในเป็นกล่อง(Chamber) มีแผ่นโลหะที่มีขั้วไฟฟ้าต่างกัน ที่มีสารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ซึ่งจำทำหน้าที่กระตุ้นอากาศภายในให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน โดยไอออนในกล่องจะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทั้งสองขั้ว เมื่อเกิดควันเข้าไปในกล่อง จะทำให้ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศลด และกระแสไฟฟ้าจะลดลงเรื่อยตามปริมาณควันจนถึงค่าที่กำหนดไว้ ระบบจะทำงาน
รูปการทำงานของระบบ Smoke Detector Ionization เริ่มแรยังไม่มีอนุภาพของควัน กระแสไฟฟ้าจะเดินสะดวก ระบบจะไม่ทำงาน

รูป เมื่อมีอนุภาพควันมาติดที่แผ่น Screen (เห็นเป็นจุดดำๆ) จะเป็นตัวขัดขวางกระแสไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าลดต่ำลงจนถึงจุดที่ระบบทำงาน

รูป ภายใน Smoke Detector Ionization Type

ข้อดี
สามารถตรวจจับควันที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอนที่เกิดจากการเผาไหม้อย่างหมดจดได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสีย
  • แต่จะตรวจจับควันที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ และหนาทึบที่เกิดจากการครุตัวอย่างช้า ได้ไม่ดีเท่าระบบ โฟโตอิเล็กตริก
  • หากมีฝุ่น แมลงขนาดเล็กหลุดเข้าไปในอุปกรณ์ จะทำให้เกิดการทำงานผิกพลาดได้
  • กระแสลม และการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศทำให้อุปกรณ์ทำงานผิดพลาดได้
  • การเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ และความชื้นมีผลทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้

การแก้ไข (เรื่องความชื้น และความกดอากาศ)

เพื่อปิดจุดด้อยด้านนี้จึงมีการพัฒนาเป็นระบบ ไอโอไนเซชั่นแบบกล่องคู่ กล่องหนึ่งจะรับอากาศจากภายนอก ส่วนอีกกล่องจะเป็นกล่องอากาศอ้างอิงที่เปิดช่องเล็กที่ยอมให้ความชื้นผ่านได้ แต่ไม่ยอมให้อนุภาคควันผ่าน กล่องทั้งสองจะทำการเปรียญเทียบกันระหว่างสองกล่องถ้าความชื้น และความดันทั้งสองกล่องเท่ากันระบบจะไม่ทำงาน

2.) อุปกาณ์ตรวจสอบควัน ชนิดโฟโตอิเล็กตริก (Smoke Detertor Photoelectric Type) มีหลักการทำงานสองแบบคือ แบบหักเหของแสง และแบบใช้ควันกีดขวางแสง

2.1) แบบควันกีดขวางแสง (Light Obsuration) ทำงานโดยใช้แห่งกำเนิดแสง (Emitted Light) ยิงเข้าที่ตัวรับแสง (Detector Light) เมื่อไม่มีควันไฟปริมาณแสงจะคงที่ๆค่าหนึ่งเสมอ เมื่อมีอนุภาคควันเข้ามาดังรูปขวามือ อนุภาคควันจะเข้าไปกีดขวางลำแสง แสงที่ส่องเข้าตัวรับจะต่ำลงเรื่อยจนถึงค่าที่กำหนดไว้ระบบจะทำงาน

รูประบบการทำงานของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบกีดขวางแสง (Light Obsuration)

2.2) แบบหักเหแสง (Light Scattering) ทำงานโดยมีแห่งกำเนิดแสง แต่จะไม่ยิงไปที่ตัวรับแสงโดยตรง จะอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อมีอนุภาคควันเข้ามาในอุปกรณ์ อนุภาคควันจะหักเหแสงบางส่วนไปที่ตัวรับแสง เมื่อมีควันมากขึ้นแสงก็จะหักเหเข้าตัวรับแสงมากขึ้นจนถึงจุดๆหนึ่งที่ระบบจะทำงาน


รูประบบการทำงานของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบหักเหแสง (Light Scattering)

ข้อดี
เหมาะกับการตรวจจับควันที่มีขนาดตั้งแต่ใหญ่ตั้งแต่ 1 ไมครอนขึ้นไป คือควันที่เกิดจากการสันดาปไม่สมบูรณ์ เช่นเกิดเพลิงไหม้ในที่อับอากาศ

2.3) แบบกล่องหมอกควัน (Cloud Chamber Type) ทำงานโดยการสุ่มตัวอย่างอากาศ โดยการดูกอากาศในพื้นที่เสาไปในกล่องที่มีความชื้นสูง และอากาศที่ถูกดูดเข้าไปจะถูกลดลดความดันลงอย่างช้าๆ โดยถ้าอากาศที่ถูกดูดเข้ามีอนุภาคควันอยู่จะกลั่นตัวกลายเป็นหมอก ถ้าอนุภาคควันมากความหนาแน่นของหมอกจะสูงจนถึงจุดที่ระบบทำงาน

รูป Chart ขนาดอนุภาคควันต่างๆ หน่วยแกน x เป็นไมครอน
รูปจาก http://www.air-purifiers-america.com/ed_particle-size.asp

มาดูรูป Modern Smoke Detector กันถ้ากลัวติดแล้วไม่สวย แต่ต้องลงทุนหน่อย

รูปจาก http://ohgizmo.com/2006/11/28/snapalarm-smoke-detector/ By Andrew Liszewski

รูปจาก www.hippoblog.com/2005_01_30_kive.htm


รูปจาก www.homesecurityinformation.com/ideas/2007/06/

ประวัติผู้ตรวจสอบ

ประวัติโดยย่อผู้ตรวจสอบอาคาร
ชื่อ-นามสกุล ธวัชชัย ไตรสารศรี
การศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่พระจอมเกล้าธนบุรี
ที่อยู่ 1222 ถ.ศรีนครินทร์ สวนหลวง สวนหลวง กรุงเทพ 10250
โทรศัพท์มือถือ / โทรสาร 089-699-5200 / 02-321-6466
ประวัติการทำงาน ต.ค.42 – เม.ย. 43 บจก. เจี้ยนไทย (1992)
ก.ค. 43 – ก.พ. 50 บจก. นิวเทคโนโลยี่เอ็นจิเนียริ่งคอนสตรัคชั่น

เลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา ภย.27558
เลขที่หนังสือการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบอาคาร บ.0703/2550
ประวัติการอบรม และสัมมนา

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร โดย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
  • พัฒนาการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา รุ่นที่ 1 โดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
  • ผู้ตรวจสอบอาคาร รุ่นที่15 โดย 5 สมาคม (ว.ส.ท. , ตปอ. , ACAT , MECT , ASA )
  • มอก.18001 และการประเมินความเสี่ยง โดย สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมรม (สมอ.)
  • อบรมเชิงปฏิบัติ "การบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม" โดย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  • สัมมนา เรื่อง สรุปการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย โดย 5 สมาคมวิศวกรรม
  • สัมมนา เรื่อง การป้องกันความปลอดภัย และอัคคีภัย โดย 5 สมาคมวิศวกรรม
  • การประกันภัยเบ็ดเตร็ด / การประกันวิศวกรรม โดย วิริยะประกันภัย

สิ่งที่เจ้าอาคารต้องจัดเตรียม

  • สิ่งที่เจ้าของอาคารต้องจัดเตรียมสำหรับการตรวจสอบอาคาร
    แบบชุดขออนุญาตก่อสร้าง ในกรณีแบบชุดก่อสร้างศูนย์หาย ต้องจัดทำขึ้นใหม่พร้อมเซ็นรับรองความถูกต้องโดยเจ้าของอาคาร โดยอย่างน้อยแบบต้องประกอบด้วยแบบแปลนทุกชั้น ผังบริเวณ รูปด้านสี่ด้าน และแบบงานระบบ
  • หนังสือได้รับอนุญาตก่อสร้าง (อ.1)
  • หนังสือได้รับอนุญาตเปิดใช้อาคาร (อ.6) ถ้ามีในกรณีอาคารควบคุมการใช้
  • แผนบริหารความปลอดภัยในอาคาร
  • เอกสารตรวจสอบดูแลระบบลิฟต์ บันไดเลือน ถังดับเพลิง การตรวจคุณภาพน้ำทิ้ง จากผู้ชำนาญการที่เชื่อถือได้
  • ผู้ดูแลอาคาร เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันที่เข้าตรวจสอบอาคาร
  • สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการเข้าถึงจุดตรวจตามสมควร เช่นบันได ไฟแสงสว่าง

ได้อะไรจากากรตรวจสอบ

เจ้าของได้อะไรจากากรตรวจสอบอาคาร

  • ลดความเสี่ยงภัยในอาคาร
  • ยกมาตรฐานความปลอดภัยของอาคาร
  • การจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนดบางรายการ สามารถนำมาลดหย่อน เบี้ยประกันอัคคีภัยได้ ร้อยละ 3-50% จากเบี้ยประกันตั้ง

ระวางโทษไม่ตรวจสอบอาคาร

ระวางโทษผู้ไม่จัดให้มีการตรวจสอบอาคาร
ระวางโทษตามมาตรา ๔๖ ทวิ และ๖๕ ทวิ (ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522) ถึงขั้นถูกสั่งปิดและห้ามใช้อาคารทั้งหมดหรือบางส่วนของอาคาร และต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยต้องระวางโทษปรับอีกวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะดำเนินการตรวจสอบและส่งรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

กฏหมายกำหนดให้ตรวจสอบ

กฏหมายกำหนดให้ตรวจสอบ อะไรบ้าง

  • ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
  • สอบทานระบบสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม เช่นระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบระบายน้ำ
  • สอบทานระบบป้องกันป้องกัน และระงับอัคคีภัย เช่น ระบบดังเพลิงด้วยน้ำ ถังดับเพลิง
  • สอบทานระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร เช่น การซ้อมหนีไฟประจำปี แผนอพยพ แผนดับเพลิง ฯลฯ
  • สอบทานระบบ และอุปกรณ์ อำนวยการสะดวก ประกอบอาคาร เช่นระบบลิฟต์ ระบบบันไดเลื่อน ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบระบายอากาศ
  • สอบทาน และทดสอบสมรรถนะ ของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร ดังต่อไปนี้เช่น ทางหนีไฟ เครื่องหมายป้ายสัญญาณเพื่อการหนีไฟ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้


หมายเหตุ

  • การสอบทานในเชิงของผู้ตรวจสอบอาคาร คือการตรวจสอบเอกสาร ที่ทางอาคารได้จัดให้มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ประกอบอาคารต่าง เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร
  • การทดสอบสมรรถนะในเชิงของผู้ตรวจสอบอาคาร คือเป็นผู้ลงมือทดสอบระบบด้วยตนเองว่าระบบยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานขณะนั้น
  • การตรวจสอบในเชิงของผู้ตรวจสอบอาคาร คือการตรวจสอบด้วยสายตา และเครื่องมือพื้นฐาน

ใครมีหน้าที่จัดหาผู้ตรวจสอบ

ใครบ้างมีหน้าที่จัดหาผู้ตรวจสอบอาคาร

  • เจ้าของอาคาร
  • ในกรณีอาคารชุด เป็น นิติบุคคลอาคารชุด

การตรวจสอบอาคารแยกเป็น

การตรวจสอบอาคาร แยกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • การตรวจสอบใหญ่ ทุกๆ 5 ปี
  • การตรวจสอบประจำปี เป็นการตรวจสอบที่แทรกอยู่ระหว่างปีที่ไม่มีการตรวจสอบใหญ่

การตรวจสอบใหญ่ แตกต่างจาก การตรวจสอบประจำปีอย่างไร

  • การตรวจสอบใหญ่เป็นการตรวจสอบที่ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องเป็นผู้ลงมือทดสอบประสิทธิภาพระบบด้วยตนเอง ส่วนการตรวจสอบประจำปีจะเป็นการที่ผู้ตรวจสอบเข้าไปตรวจสอบบันทึกการดูแลระบบอาคารที่ผู้ดูแลอาคารเป็นผู้ทดสอบระบบ
  • การตรวจสอบใหญ่ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องจัดทำ คู่มือการตรวจสอบอาคารประจำปี , คู่มือดูแลบำรุงรักษาอาคาร เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลอาคารสำหรับผู้ดูแลอาคาร

ผู้ตรวจสอบอาคาร คือ

ผู้ตรวจสอบอาคาร จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้


  • เป็นวิศวกร หรือ สถาปนิก ที่มีใบประกอบวิชาชีพ

  • ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร "ผู้ตรวจสอบอาคาร" จากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากกรมโยธาธิการ และผังเมือง

  • ต้องผ่านการสอบวัดความรู้จากทางกรมโยธาธิการ และผังเมือง

  • ต้องทำประกันภัย วงเงิน 6,000,000 บาท

  • ต้องขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบกับ ทางกรมโยธาธิการ และผังเมือง